ข่าวตลาดทุน

Title : ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง “เมดีซ กรุ๊ป” ขาย IPO 268 ล้านหุ้น ขยายธุรกิจเซลล์รากผม ระบบจัดเก็บเซลล์ด้วยหุ

2024-09-09 By. Admin [View 313]

นายพายุพัด มหาผล กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน หรือ IPO พร้อมแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือ Filing ของ MEDEZE หรือนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในปัจจุบัน MEDEZE มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 400 ล้านบาท คิดเป็น 800 ล้านหุ้นเพื่อจะนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนครั้งแรกในครั้งนี้ เป็นการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 268,000,000 หุ้น  มูลค่าที่ตราไว้ หรือพาร์หุ้นละ0.50 บาท คิดเป็นร้อยละไม่เกิน 25.09% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออก และเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ ประเทศไทย (SET) ในหมวดธุรกิจบริการ (SERVICE) / การแพทย์ (HELTH)

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE เปิดเผยว่า บริษัทเป็นผู้ให้บริการตรวจวิเคราะห์ คัดแยก เพาะเลี้ยง และรับฝากเซลล์ต้นกำเนิด หรือ Stem Cells และตรวจศักยภาพเซลล์ภูมิคุ้มกัน หรือ  NK Cells มีประสบการณ์ในการดำเนินเนินธุรกิจมาต่อเนื่องมากกว่า 14 ปี ให้บริการครอบคลุมการจัดเก็บเซลล์ต้นกำเนิดในระยะยาว ผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยดำเนินการผ่านบริษัทย่อยจำนวน 5 บริษัท ได้แก่ (1) บริษัท เมดีซ เอ็นเค จำกัด ดำเนินธุรกิจการให้บริการทดสอบศักยภาพเซลล์ภูมิคุ้มกัน หรือ NK Cells (2) บริษัท เมดีซ คอสเมซูติคอล จำกัด ดำเนินธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์ความงามภายใต้ตราสินค้า DAA และอาหารเสริม (3) บริษัท เมดีซวิจัยและพัฒนา จำกัด ดำเนินธุรกิจวิจัยและพัฒนาเชิงทดลองด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (4) Medeze Treasury Pte. Ltd. ดำเนินธุรกิจเป็นบริษัทเพื่อการลงทุน (Investment Company) โดยเป็นบริษัทที่ถือครองและบริหารตราสินค้าของกลุ่มบริษัทฯ และ (5) Medeze Group Pte. Ltd. ดำเนินธุรกิจวิจัยและพัฒนาเชิงทดลองด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

โดยบริษัทมีศักยภาพสูงในการให้บริการด้วยถังเก็บเซลล์ด้วยระบบไนโตรเจนเหลวทั้งหมดมากกว่า 30 ถัง มีความสามารถสูงสุดในการสกัดเลือด 2,880 เคส/ปี และสกัดเนื้อเยื่อ 4,560 เคส/ปี และมีความสามารถในการทดสอบศักยภาพของ NK Cells อยู่ที่ 1,920 เคสต่อปี ซึ่งมีพันธมิตรกับโรงพยาบาลในประเทศทั้งหมด 228 โรงพยาบาล มีตัวแทนจำหน่ายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ พม่า อินโดนีเซีย และกัมพูชา รวมถึงมีนักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรชั้นนำในวงการเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ Biotechnology จำนวนมาก ส่งผลให้มีความแข็งแกร่งในด้านเครือข่ายแพทย์ในสถานพยาบาลชั้นนำ ไปจนถึงการมีห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อระดับคลีนรูม คลาส 100 พร้อมด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยในวงการธนาคารจัดเก็บเซลล์ต้นกำเนิด หรือ Stem Cell Banking เช่นระบบการแช่แข็งในถังระบบไนโตรเจนเหลว เครื่องคัดแยกเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตอัตโนมัติ หรือ AutoXpress และเครื่องเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนเซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคมอลชนิดอัตโนมัติ หรือ Quantum

ทั้งนี้บริษัทได้รับความไว้วางใจในระดับสากลด้วยมาตรฐานการจัดเก็บแช่แข็งในระดับสากล Association for the Advancement of Blood and Biotherapies (AABB) จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของธนาคารสเต็มเซลล์ที่เข้มงวด เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพสากลตามข้อกำหนดขององค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา หรือ U.S.FDA ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเลือดจากสายสะดือตั้งแต่การจัดเก็บในระยะยาว ไปจนถึงการกระจายขนส่งเพื่อรองรับการรักษาให้กับผู้ป่วยทั่วโลก และมาตรฐานห้องปฏิบัติการคุณภาพ Clean Room Class 100 ตั้งแต่ปี 2556 โดย National Environmental Balancing Bureau หรือ NEBB จากประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นมาตรฐานควบคุมอนุภาค ความดัน และอุณหภูมิภายในห้องปฏิบัติการอย่างเหมาะสม

โดยภายหลังจากการระดมทุน MEDEZE มีแผนที่จะลงทุนขยายธุรกิจด้านเซลล์รากผม หรือ Hair Follicle Cell Bank ด้วยการพัฒนานวัตกรรมเซลล์จากรากผม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการช่วยบรรเทาปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเส้นผม และหนังศีรษะ ที่มีแนวโน้มจะพบเจอมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงวัย และลงทุนติดตั้งระบบการจัดเก็บเซลล์ด้วยหุ่นยนต์ หรือ Robotic Cell Culture System ซึ่งเป็นนวัตกรรมขั้นสูงและล้ำสมัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทำให้กระบวนจัดเก็บมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ลดความผิดพลาดของบุคคล และลดความเสี่ยงจากตัวแปรที่มาจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ยกระดับความน่าเชื่อถือทัดเทียมกับผู้ประกอบ

TAGS :

ข่าวที่เกี่ยวข้อง